วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

ให้นักศึกษาอ่านบทความต่อไปนี้ วิเคราะห์แสดงความคิดเห็น 

1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน 
            ความหมายของแท็บเล็ต
            คือ แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ โดยการเขียนซึ่งมีมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ ซึ่งจะมีหลายบริษัทที่ได้ให้คำนิยามหรือการเรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป เช่น แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) และ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet)
            ความเป็นมาของแท็บเล็ต
          จากการศึกษาวิเคราะห์ในเชิงประวัติศาสตร์มีข้อสันนิษฐานและกล่าวกันมาว่าแท็บเล็ตในยุคประวัติศาสตร์ได้เริ่มต้นจากการที่มนุษย์ได้คิดค้นเครื่องมือสำหรับการพิมพ์หรือบันทึกข้อมูลจากแผ่นเยื่อไม้ที่เคลือบด้วยขี้ผึ้งบนแผ่นไม้ในลักษณะของการเคลือบประกบกัน 2 ด้าน ใช้ประโยชน์ในการบันทึกอักขระข้อมูล หรือการพิมพ์ภาพ ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนจากบันทึกของซิเซโร ชาวโรมัน
            แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
          การใช้แท็บเล็ตโดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตเป็นของตนเองเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพบว่าการใช้แท็บเล้ตจะเป็นแรงจูงใจของผุ้เรียนและมีผลกระทบในทางบวก ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าและเข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง  สำหรับในด้านการจัดการเรียนการสอนนั้น การใช้แท็บเล็ตนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบ
            เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตนับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสาระสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่นำมาใช้ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งาน อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมจะต้องมีการวางแผนและปรับปรุงอย่างรอบคอบเพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในการปฏิบัติ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาจะต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือผู้สอน คือ ครู ที่จะต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
แหล่งที่มา : http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028
                  http://www.tabletd.com/articles  
                  http://www.mict.go.th/ewt_news.php?nid=5282&filename=index 
       
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคม เมื่อ เดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้งจนปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
สำหรับประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ก็จะช่วยในเรื่องของเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจที่ขึ้น มาการแลกเปลี่ยนกลไกทางการค้าระหว่างประเทศ มีการแลกเปลี่ยนกันทางวัฒนธรรมและทางสังคม ส่งเสริมความมีสันติภาพและความมั่นคงต่อกัน เมื่อประเทศมีความมั่นคงทำให้ประเทศอื่นมีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เมื่อมีประเทศอื่นเข้ามาลงทุนมาก็จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวดีขึ้น
สำหรับการเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา คือ ก่อนอื่นเราจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องของภาษาเราจะต้องฝึกพูดภาษาที่ใช้กันในอาเซียนเพื่อที่จะได้เปรียบในการทำงาน และครูจะต้องมีความรู้ ความสามารถ จะต้องเป็นคนที่รู้ลึก รู้จริง เพราะต่อไปนี้พอมีอาเซียนเข้ามาจะมีบุคคลจากภายนอกเข้ามาทำงาน เข้ามาเป็นคู่แข่งกับเรา ดังนั้นการเตรียมตัวก็ควรจะเตรียมตัวทั้งแต่แรกเริ่มเพื่อความสบายในวันข้างหน้า
แหล่งที่มา :  http://www.cityub.go.th/index.php?option=com
                  http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41977045
                  http://www.thai-aec.com/418                   
           
 3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกในความสามารถที่มีอยู่ให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอนจนทำให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน (นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"  ซึ่งครูที่ดีจะต้องมีศรัทธาต่อลูกศิษย์ทุกคนไม่ว่าจะเรียนเก่งหรือเรียนอ่อน  มีความไว้วางใจลูกศิษย์ทุกคนสามารถปรึกษาได้และครูต้องเก็บไว้เป็นความลับ  สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนและที่สำคัญครูต้องยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
            ครูที่จะเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม 7 ประการ คือ
1.หาหนังสือที่ติดอันดับขายที่ดีที่สุดมาอ่าน ซึ่งครูจะต้องรู้จักหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ต้องรู้ทันในเหตุการณ์ปัจจุบันว่าปัจจุบันนี้หนังสืออะไรเป็นที่นิยมกันแล้วครูก็ต้องไปหามาอ่าน เพื่อจะได้มีความรู้ในการสอนเด็ก
2.อยู่กับปัจจุบัน / ทันสมัย ครูจะต้องอยู่กับปัจจุบัน จะต้องทันต่อสื่อเทคโนโลยีต่างๆจะต้องมีการสอนที่แปลกใหม่และทันสมัย
3.หาข้อมูลที่มีความรู้เกี่ยวกับเด็ก ครูจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับเด็กอยู่เสมอเพื่อจะได้รู้ทันเกี่ยวกับเด็กและสามารถพูดคุยกับเด็กได้อย่างถูกต้อง
4.ทำให้เด็กแสดงออกซึ่งการเป็นภาวะผู้นำ ครูรู้จักการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง สอนให้เด็กรู้จักเป็นผู้นำ เช่น แบ่งกลุ่มให้ทำงานแล้วให้สมาชิกในกลุ่มเปลี่ยนกันเป็นหัวหน้ากลุ่มในแต่ละครั้งที่ให้ทำงานเพื่อให้ทุกคนรู้จักการเป็นผู้นำ
5.กำหนดให้เด็กทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม การที่เราให้เด็กรู้จักการทำงานกลุ่มจะสอนให้เด็กรู้จักในเรื่องการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักการรับผิดชอบร่วมกันและความสามัคคี
6.เชิญบุคคลภายนอกมาพูดให้เด็กฟังจะทำให้เด็กมีความรู้นอกเนื่องจากที่ครูสอน ทำให้เด็กมีความอยากรู้ อยากเรียนและสนใจเรียนมากขึ้น
7.ท้าทายให้เด็กได้คิด ครูจะต้องเป็นคนที่สอนให้เด็กรู้จักคิด สอนให้เด็กคิดเป็น ไม่ใช่ไปบอกให้เด็กรู้
แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/315219

4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า 
           สำหรับการเรียนวิชาการจัดการบริหารในชั้นเรียน เป็นเรียนโดยการใช้บล็อกซึ่งก็ไม่ได้เคยเรียนในวิชาไหนมาก่อนถือว่าเป็นอะไรที่แปลกใหม่  ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้ถือว่าเป็นอะไรที่ดีมากเป็นการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้กระดาษไม่ต้องเปลืองทรัพยากรธรรมชาติและช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วย เป็นการเรียนการสอนที่ไม่ว่าผู้เรียนอยู่ที่ไหนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาเพียงแต่ให้มีอินเตอร์เน็ต สำหรับการที่ได้เรียนการสร้างบล็อกทำให้มีความรู้ที่ใหม่ๆ ซึ่งบล็อกนี้จะมีลูกเล่นที่หลากหลาย สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันเวลาเราไปฝึกสอนหรือว่าเราไปสอนจริงที่โรงเรียนสามารถนำไปสอนให้กับเด็กได้ และเวลานำเสนองานต่างๆก็สามารถนำเสนอได้ด้วยเมื่อเราทำงานแล้วยังไม่พอใจตรงไหนก็สามารถแก้ไขใหม่อยู่ได้จนกว่าเราจะพอใจ และผู้อื่นสามารถเข้ามาดูความรู้ที่เราเขียนลงไปได้ด้วยซึ่งสามมารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้ด้วยและที่สำคัญการที่เราทำบล็อกเป็นสามารถสร้างรายได้ให้เราได้ด้วยเวลาที่เราไปเป็นวิทยาการ
เกรดที่ควรได้ในวิชานี้ คือ เกรด A เพราะ
1.ในการทำงานแต่ละครั้งตนเองมีความพยายามมาก ในการเรียนแต่ละครั้งแบกโน๊ตบุคมาเรียนทุกครั้งและก็หนักมากด้วย
2.การเข้าเรียน เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดสักครั้งเดียว แม้ว่าในบางครั้งจะเข้าเรียนสายบ้างก็ตาม
3.การส่งงาน ส่งงานทุกครั้งตามที่อาจารย์สั่ง ไม่เคยขาดส่งงานเลยสักครั้ง และงานที่ทำแต่ละครั้งจะทำคนเดียว จะทำตามความคิดของตนเองไม่เคยคัดลอกของเพื่อนเลยหรือบางครั้งอาจจะเอาแนวมาจากอินเตอร์เน็ตบ้างก็ตามแต่ก็นำมาดัดแปลงใหม่
4.สิ่งที่ตอบมาทั้งหมดนี้ เป็นความจริง ตอบด้วยความซื่อสัตย์ ตามเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น





วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 10

เรียงความวันแม่
            “แม่” คำๆนี้เป็นเพียงคำสั้นๆ แต่มีความหมายที่ลึกซึ้ง ท่านคือผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่งบนโลก แต่กลับเป็นคนพิเศษสำหรับลูกรัก แม่คือผู้ประเสริฐสุดในชีวิตทุกๆชีวิต เป็นผู้ที่สามารถให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ลูกได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน เงินทอง ของมีค่า หรือแม้กระทั่ง ลมหายใจที่ยังเหลืออยู่ของแม่
         ตลอดเวลาตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ จน ณ วินาทีนี้ แม่ก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ไม่มีสิ้นสุด แม่ให้ทั้งความรัก  ความห่วงหา ความห่วงใยความอาทร อีกทั้งยังมอบความรักที่มิอาจมิรักใดมาทดแทนได้ให้แก่เรา นั่นก็คือความรัก ความผูกพัน ระหว่าง “แม่ และ ลูก”  รักของแม่นั้นเปรียบดั่งสายธารา ที่คอยระงับความทุกข์ใจของลูก แม้ในยามที่ลูกไม่ต้องการ แต่เรานั้น…ไม่เคยนึกถึงความรู้สึกของแม่เลย เรากลับทำให้แม่ต้องเจ็บช้ำ เสียน้ำตา ในบางกิริยาที่เราแสดงออก ถึงกระนั้นก็ตาม ในเวลาที่ลูกรักมีปัญหา แม่ก็คือผู้ให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ในเวลาที่ลูกรักต้องเสียน้ำตา  แม่ก็สละเวลาทำงานของแม่ มาคอยปลอบโยน ไม่คิดโกรธ หรือเคืองลูกรักแม้แต่น้อย ที่ในบางครั้งบางคราว ลูกรักก็ไม่เชื่อฟังคำที่แม่พร่ำสั่งพร่ำสอน ถ้าจะให้เปรียบพระคุณของแม่นั้นก็คงจะเปรียบประดุจ “ผืนทราย” ที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง เหมือนรักของแม่ที่มีแต่การให้เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน นอกจากรอยยิ้มของลูก ความรู้สึกที่แม่มีต่อลูกนั้นเปรียบประดุจดั่ง “พื้นน้ำ” ที่ไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลกา ในช่วงเวลาต่างๆในชีวิต เรานั้นก็ต่างผ่านอารมณ์ต่างๆมามากมาย ในเวลาที่เรามีความสุข แม่ก็มีความสุขไปกับเรา แต่ในเวลาที่เราทุกข์ แม่กลับทุกข์กว่าเราหลาย 10 หลาย 100 เท่า แต่ท่านก็ไม่เคยแสดงออกถึงความอ่อนล้า ความเหน็ดเหนื่อยของท่านให้เราได้สังเกตเห็นเลย แม่ของเรานี้ช่างอดช่างทนเหลือเกิน แต่ที่ท่านอดทนนี้ก็ด้วยความรัก ความห่วงใย และความผูกพันที่มีต่อลูกทั้งสิ้น ในชีวิตนี้ แม่ยอมโกหกเราเพื่อให้เรามีความสุข โกหกนั้นก็คือ คำว่า “ไม่เหนื่อย ไม่โกรธ ไม่เจ็บ ไม่เศร้า และไม่ในอีกหลายๆอย่าง” ของแม่ แม่พูดคำๆนี้ออกมาในความหมายตรงกันข้ามกับความเป็นจริง แต่ที่โกหกนี้ก็เพื่อไม่ให้ลูกรักต้องกังวลถึงเรื่องของตนเอง 
        พระคุณที่แม่ได้มอบให้แก่เรา ไม่ว่าจะให้มีกระดาษกี่ร้อยกี่พันแผ่นก็ไม่สามารถเขียนบรรยายออกมาได้หมดสิ้น หรือต่อให้นักพูดมืออาชีพมาบรรยาย ก็มิอาจจะพูดได้ลึกซึ้งเท่าใจสัมผัส ความรู้สึกนี้มัน “เกินจะบรรยาย” จริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมิอาจทดแทนได้

กิจกรรมที่ 9

บรรยากาศในชั้นเรียน มีส่วนสำคัญในการส่งเสิรมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่ดีจะต้องมีบรรยาศที่เต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน
คุณสมบัติของห้องเรียนที่ดี
1.มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง ความก้างพอเหมาะ
2.มีโต๊ะ เก้าอี้ เป็นระเบียบเรียบร้อย
3.มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้
4.มีการตกแต่งภายในห้องให้สดใส
5.ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น เสียง กลิ่น ควัน
6.มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน



วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพในความคิดของข้าพเจ้า
             ครูมืออาชีพในความคิดของข้าพเจ้า คือ จะต้องตระหนักในเรื่อง คุณภาพการเรียนการสอน ซึ่งมีความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน ซึ่งครูมืออาชีพจะต้องมีความสามารถ เช่น
1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
            2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
            3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
            4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณบนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน
            5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
            6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน
7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
            8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ทั้งภายในและระหว่างสาระการเรียนรู้


วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
ประเด็นที่ 1
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
การสอนแนะให้รู้คิด เป็นการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งที่พัฒนาเกี่ยวกับองค์ความรู้และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหา ซึ่งจะสอนให้นักเรียนรู้จักคิด รู้จักการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการต่างๆ ที่นำไปสู่คำถามเพื่อการแก้ปัญหา โดยจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานกันเป็นกลุ่ม ได้เสนอความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งนักเรียนจะรู้จักการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์และนำเหตุผลมาใช้ในการประกอบได้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
- จะนำความรู้มาประยุกต์ใช้โดยการจะยกตัวอย่างโดยการนำสถานการณ์หรือปัญหาเกี่ยวกับในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัวนักเรียน แล้วให้ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นหรือร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
- หลังจากนั้นให้นักเรียนรวมกลุ่มกันวิเคราะห์สถานการณ์หรือปัญหา แล้วคำมาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ โดยครูจะมีข้อคำถามที่กระตุ้นให้นักเรียนรู้จักคิด แก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะให้คำแนะนำเมื่อนักเรียนมีปัญหา
- นักเรียนนำคำตอบที่ได้มาเสนอพร้อมทั้งบอกเหตุผล เมื่อได้ข้อสรุปที่ดีแล้ว หลังจากนั้นครูก็จะสรุปเป็นประเด็นที่ชัดเจนอีกที
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
            - จะออกแบบการสอนโดยที่จะเน้นรูปแบบการสอนแบบบูรณาการ โดยที่ครูจะจุดประการความคิดเริ่มแรกให้นักเรียนก่อน หลังจากนั้นให้นักเรียนร่วมกันคิด แสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ถึงเรื่องดังกล่าวพร้อมทั้งบอกเหตุผล หลังจากนั้นให้นำเสนอหน้าชั้นเรียนเมื่อนำเสนอเสร็จให้เพื่อนๆช่วยกันถามถึงข้อสงสัย จนได้คำตอบที่สมบูรณ์เมื่อได้คำตอบนั้นแล้วให้นำคำตอบมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือนำไปบูรณาการกับวิชาอื่นโดยที่นักเรียนรู้จักการแก้ปัญหานั้นอยู่แล้ว
ประเด็นที่ 2
บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
- ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือประเทศของเราจะเจริญหรือเสื่อมลงนั้นต้องขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน ดังนั้น คนเป็นครูจะต้องมีความรู้จะต้องรู้ลึก รู้จริง ในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง  ความสามารถทั้งในด้านการสอน การจัดกิจกรรม  สอนให้รู้จักพฤติกรรมในการทำประโยชน์กับผู้อื่น สอนให้รู้ รัก สามัคคี สอนแล้วให้นักเรียนรู้จักนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
            - ถ้าเป็นครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิด รู้จักการแก้ปัญหา สอนให้นักเรียนรู้ลึก รู้จริงในเรื่องนั้นๆ รู้จนกระจ่างแจ้ง จะสอนให้นักเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม สอนให้นักเรียนรู้จักความสามัคคี
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
            - จะออกแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น รู้จักการแก้ปัญหาเป็น อย่างเช่น ถ้าครูจะสอนเกี่ยวกับเรื่องน้ำท่วม อันดับแรก คือ ครูจะร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับนักเรียน หลังจากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ถึงสาเหตุและก็ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วก็นำปัญหาที่ได้มาการแก้ปัญหารู้ว่าปัญหาดังกล่าวสามารถนำแนวทางใดมาใช้ในการแก้ปัญหาได้บ้าง เช่น หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักอิทธิบาท 4 หลังจากนั้นก็สรุปแบบองค์ความรู้ที่สมบูรณ์อีกหลัง

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7

1. สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน
ชื่อเรื่อง : สนุกกับพาราโบลา
ครูผู้สอน : จักรกฤช เลื่อนกฐิน
ระดับชั้น : คณิตศาสตร์ ม.4
2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
-นิยาม สมการ และส่วนประกอบต่างๆ ของพาราโบลา
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
สติปัญญา
-สิ่งที่นักเรียนได้รู้ คือ ครู
-ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในชั้นเรียน
-สอนโดยการนำเกมเข้ามาใช้ ซึ่งเกมนั้นจะสอดแทรกเกี่ยวกับเนื้อหา
อารมณ์
-นักเรียนมีหน้าตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใส่ มีเสียงหัวเราะ
-เด็กมีสมาธิในการเรียน
คุณธรรมจริยธรรม
-เด็กให้ความร่วมมือในการตอบคำถามและในชั้นเรียน
-เมื่อครูให้ออกไปทำกิจกรรมหน้าห้องนักเรียนให้ความร่วมมือดี ไม่เกี่ยงกันออกไปทำ
-มีความสามัคคี โดยการเล่นเกมโดยเป็นทีม
-รู้จักการทำงานเป็นทีม
4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
บรรยากาศในห้องเรียนเป็นบรรยากาศที่สนุกสนานมาก น่าเรียน สีหน้าของนักเรียนดูสดชื่น แจ่มใส นักเรียนมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ นักเรียนสนใจสิ่งที่ครูสอน ครูเป็นกันเองกับนักเรียน


กิจกรรมที่ 6


กิจกรรมที่ 5





ประวัติทั่วไป
-อาจารย์ : นายสุริยา โนนเสนา
-ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียน
-วุฒิการศึกษา : ปริญญาโท
-วิชาเอก : บริหารการศึกษา
-เบอร์โทรศัพท์ : 0892838340
-Email :mit.2512@hotmail.com
ประวัติการศึกษา
             -ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
             -ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไผ่ อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
            -ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยครูอุดรศึกษา (วิชาเอกเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษา)
             -ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยรามคำแหง (การบริหารการศึกษา)

ประวัติการทำงาน
-ปี 2536-2541 : โรงเรียนบ้านท่าโป่ง ต.วังตะเฆ่ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3
-ปี 2541-2547 : โรงเรียนบ้านวังกะทะ ต.วังตะเฆ อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 4 - อาจารย์ 2 ระดับ 6
-ปี 2547-2548 : โรงเรียนสังวาลย์วิท 7 อำเภอบางขัน จ.นครศรีธรรมราช ตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7 ช่วยราชการ
-4 พ.ย.2547 -15 ส.ค.2549 : โรงเรียนบ้านควนประ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช ตำแหน่ง อาจารย์ 2 ระดับ 7 และ ครู ค.ศ.2 วิทยฐานะชำนาญการ
-16 สิงหาคม 2549-7 กันยายน 2551 : โรงเรียนบ้านคลองปีกเหนือ อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองปีกเหนือ
-8 กันยายน 2551-2 พฤศจิกายน 2553 : โรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่
            -3 พฤศจิกายน 2553-ปัจจุบัน : โรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา (โรงเรียนวัดทุ่งควาย) ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา (คศ.3)

ผลงาน

-ผู้ประเมินผลขั้นที่ 5 ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
-ผู้ช่วยผู้ตรวจการลูกเสือประจำสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
-ผู้อำนวยการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ BTC สำรอง , สามัญรุ่นใหญ่ สำนักงานลูกเสือเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
-ผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก อำเภอช้างกลาง ปี 2549-2550 งานวันครู
-ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประเภทผู้บริหาร สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ปี 2551
 -ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประเภทครูผู้สอน สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ปี 2549
 -ครูผู้สอนลูกเสือดีเด่น สพท.นครศรีธรรมราช เขต 2 ปี 2549
 -ครูจริยศึกษาดีเด่น สปจ.ชัยภูมิ         
 -ครูคณิตศาสตร์ดีเด่น
ผลงานของครูที่นักเรียนชอบ
          ผลงานของครูที่ชอบก็คือ เป็นครูคณิตศาสตร์ดีเด่น เป็นผู้บริหารศึกษาดีเด่น ประเภทโรงเรียนขนาดเล็กและเป็นครูจริยดีเด่นซึ่งในนี้จะรวมถึงทางด้านคุณธรรม จริยธรรมอยู่ด้วย จึงทำให้ครูเป็นครูที่มีคุณภาพ
การประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอ
            จะนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนนักเรียนซึ่งครูทุกคนจะต้องมีความรักความศรัทธาต่อวิชาชีพครู ในด้านการสอนครูจะต้องถ่ายทอดความรู้ให้เต็มความสามารถเท่าที่จะทำได้ ในการทำงานจะต้องยึดหลักคุณธรรม จริยธรรมเข้ามาใช้

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

ทักษะในการทำงานเป็นทีม
ความสำคัญของทีม
การสร้างทีมงานและการพัฒนาองค์กรนั้นเป็นกิจกรรมที่ดีที่สุด   การทำงานเป็นทีมจะเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กรและมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานคนเดียว
ลักษณะการทำงานร่วมกัน
1.       ทำงานแบบเอาบุคคลมารวมกลุ่ม   ไม่มีการแบ่งหน้าที่    ไม่มีกฏระเบียบ  ไม่มีวัตถุประสงค์  ผลงานอาจสูงหรือต่ำ
2.       ทำงานร่วมกันแบบเป็นคณะหรือเป็นทีม  โดย      สมาชิกทราบวัตถุประสงค์  รู้หน้าที่    มีกฏระเบียบผลงานออกมาสูงเป็นที่พอใจของสมาชิก ทุกคนพอใจในผลงาน
ทีม  คือ การที่บุคคล  2  คน  ขึ้นไป  มาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
      วิเคราะห์งาน
      กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
      วางแผนการทำงาน
      กำหนดกิจกรรม
      แบ่งงานให้สมาชิกของทีม
      ปฏิบัติจริงตามแผน
      ติดตามผล และนิเทศงาน
      ประเมินขั้นสุดท้าย
อุปสรรคการทำงานเป็นทีม
      1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น  ขาดการพูดกัน ไม่แจ้งเป้าหมายของงาน
      2. มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา  สมาชิกหลีกเลี่ยงที่จะ           เผชิญปัญหาและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา
      3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ เป็นเครื่องกระตุ้นเพื่อให้สมาชิกเกิด   ความรู้สึกผูกผัน
      4. ขาดการวางแผนงานและเวลา
      5. ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ  เพื่อให้สมาชิกได้รู้บทบาทที่ชัดเจน
      6. ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม  ตารางตรวจติดตามประเมินผล
แนวทางการลดปัญหาในการทำงานเป็นทีม
     1. สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี
     2. มอบหมายงานต้องชัดเจนแน่นอน
     3. ยอมรับในเรื่องความแตกต่างของสมาชิก
     4. ให้ใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
     5. ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย
การสื่อสาร คือ การถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ จากผู้พูดไปสู่ผู้ฟังโดยใช้ถ้อยคำ ภาษา น้ำเสียงและกิริยาท่าทาง
ปัจจัยความสำเร็จของผู้พูด
        1.  ทำความเข้าใจกับผู้รับข่าว
        2.  ทำให้เป็นเรื่องง่าย
        3.  ตรงประเด็น
        4.  สร้างความมั่นใจให้ตัวเอง
ข้อปฏิบัติของผู้รับข่าวหรือผู้ฟังข้อมูลข่าวสาร
 สบตาผู้พูดระหว่างฟัง
  ใช้ภาษาท่าทางและสีหน้า แสดงให้เห็นว่าตั้งใจฟัง เช่น สบตา
  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจหรือแสดงการเบื่อ
   ถามคำถามที่เกี่ยวข้อง       
พูดโน้มน้าวหรือจูงใจ
การพูดในเชิงชักชวน เกลี้ยกล่อม โน้มน้าว ให้ผู้ฟังเชื่อถือ ศรัทธา   มีความคิดเห็นคล้อยตาม ยอมรับ และปฏิบัติตาม  ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
ตอบคำถาม เรื่อง การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร

   การยอมรับความแตกต่างของบุคคล

   แรงจูงใจของมนุษย์

   ธรรมชาติของมนุษย์

                  2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ

การที่จะทำให้ทีมมีประสิทธิภาพจะต้องรู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงานและสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี  ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของงานที่ทำเป็นอย่างดี สมาชิกในกลุ่มทุกคนจะต้องช่วยเหลือกัน มีความสามัคคีกันในกลุ่ม เมื่อมีปัญหาอะไรก็ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา  และต้องรู้จักหน้าที่ของตนเองที่ได้รับมอบหมาย


กิจกรรมที่ 3

การชั้นเรียนของครู ยุคศตวรรษที่ 21
 1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21  เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร
ในยุคศตวรรษที่ 21  เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง  การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน โดยจะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ การศึกษานี้จะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น จึงต้องการหลักสูตรที่มีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาไว้ทั้งหมดแล้ว คนที่จดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย

              ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) และตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ไปด้วย  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้

ซึ่งมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยที่โรงเรียนต้องมีหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร

2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
ในอนาคตข้างหน้าครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ในการสอนไม่ใช่ว่าเฉพาะเรื่องที่สอนแต่จะต้องมีความรู้ที่หลากหลาย ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอยู่ตลอดเวลา จะต้องมีรูปแบบการสอนที่หลากหลาย จะต้องมีความคิดเป็นของตนเอง จะต้องรู้ลึก รู้จริง และรู้แจ้งในเรื่องนั้นๆ และที่สำคัญครูจะต้องทำสื่อการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอนด้วย


วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ ได้แก่ 
1. ความต้องการทางกายภาพ หมายถึงความต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า 
2.ความต้องการความปลอดภัย หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 
3. ความต้องการทางสังคม หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น 
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต

Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y

ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
              ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิด

William Ouchi : ทฤษฎี Z

เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี

Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ  การประสานงาน การควบคุม และประสบการณ์ด้านการบริหารองค์การของรัฐขนาดใหญ่ เขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังนี้  การจัดแบ่งงาน การมีอำนาจหน้าที่  ความมีวินัย  เอกภาพของสายบังคับบัญชา   เอกภาพในทิศทาง  ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน  มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม   ระบบการรวมศูนย์   สายบังคับบัญชา  ความเป็นระบบระเบียบ  ความเท่าเทียมกัน  ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  การริเริ่มสร้างสรรค์และวิญญาณแห่งหมู่คณะ

Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ
ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy เขาเห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการ

Luther Gulick
เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORBมีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของLuther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol

Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย
1       1ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors ได้แก่  นโยบายขององค์กร  การบังคับบัญชา  ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน  สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน  ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ  ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
2       2.ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors  ได้แก่ การทำงานบรรลุผลสำเร็จ การได้รับการยอมรับ ทำงานได้ด้วยตนเอง ความรับผิดชอบ ความก้าวหน้าในงาน การเจริญเติบโต




บทที่ 1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
     
                  ความหมายของการบริหารศึกษา คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อย่างเป็นกระบวนการและระบบภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ
                  ความสำคัญของการบริหาร
      1. การบริหารจะต้องควบคู่กับการดำรงชีพของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีพร่วมกันได้อย่างมีความสุข
      2.เป็นเครื่องบ่งชี้ให้ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าของสังคม และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการด้านต่าง ๆ
      3.ทำให้ทราบถึงแนวโน้มทางการศึกษาทั้งในด้านความเจริญและความเสื่อมของสังคมในอนาคต
             
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา

           1.วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง  เกี่ยวกับกฏหมายต่าง ๆ ของรัฐ ซึ่งสามารถจำแนกวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาได้ ดังนี้ 
             ระยะที่ 1 โครงสร้างการบริหารจะเป็นไปในรูปองค์การรูปนัย
             ระยะที่ 2 การศึกษาเรื่องการบริหาร วึ่งเน้นพฤติกรรมองค์การ และเรื่องของมนุษยสัมพันธ์ยิ่งขึ้น
             ระยะที่ 3 นำการศึกาามาผสมกับแนวคิดในระยะที่ 1 และที่ 2 เข้าด้วยกัน คือ พิจารณาทั้งรูปและโครงสร้างขององค์การและตัวบุคคล เป็นสำคัญ
           2. วิวัฒนาการด้านธุรกิจ
               - เป็นการพัฒนาหลักการบริหารที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิวัติอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดวิธีการบริหารที่ทันสมัย ประกอบกับเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และต้นศตวรรษที่ ๑๙ ได้เกิดวิวัฒนาการทางการจัดการขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์
           3. การแบ่งยุคของนักทฤษฏีการบริหาร
               3.1 ยุคที่ 1 นักทฤษฏีการบริหารสมัยเดิม ซึ่งมีอยู่ 2 สาย คือ สายบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์ และสายทฤษฏีองค์การสมัยเดิม
               3.2 การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา มีคำแนะนำในการประยุกต์ใช้หลักการต่าง ๆ ดังนี้ 
                     - กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้ในการดำเนินจัดตั้งมาตรฐานที่ต้องการ เกี่ยวกับผลผลิตของโรงเรียน
                     - วิธีการผลิตควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์
                     - คุณสมบัติของผู้ผลิต (ครู) ควรจะถูกกำหนดขึ้น และควนได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
                     - ผู้ผลิตควร (ครู) ควรได้รับคำชี้แจง ให้รู้เกี่ยวกับมาตรฐานที่กำหนด วิธีการว่าจ้าง และการใช้เครื่องมือต่างๆ 
                     - บุคลากรทางการศึกษามีมาตรฐานตำ่ จึงควรได้รับการตระเตรียมมาเป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติงาน

              3.3  ยุคที่ 2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ 
                    - ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ ความฉลาด และมีประสบการณ์ เพื่อมาเป็นผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่ม
              3.4 การประยุกต์ใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
              3.5 ยุคที่ 3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริหาร 
                    - ยุคนี้จะเน้นทฤษฎีองค์การและยึดตามแนวมนุษยสัมพันธ์ให้ความสำคัญกับตัวบุคคล มุ่งด้านระบบขององค์การ
              3.6 การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา 
              3.7 ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ
              3.8 การประยุกต์เชิงระบบการบริหารการศึกษา


บทที่ 3 งานบริหารการศึกษา

งานของผู้บริหารการศึกษาโดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ
1. งานที่คนนอกมองว่าเป็นงานที่ผู้บริหารกำลังอยู่
2. งานที่คนนอกคิดว่าผู้บริหารควรทำ
3. งานที่ผู้บริหารการศึกษาเองคิดเองว่าเป็นความรับผิดชอบที่ตนต้องทำ
ภารกิจของการบริหารการศึกษา ก็คือ สิ่งที่ผู้บริหารหรือควร สามารถจำแนกได้ คือ
1. จำแนกตามลักษณะและขอบข่ายของงานบริหารการศึกษา ซึ่งมี 5 ประเภท คือ ทำงานประสานกับประชาชน การบริหารงานธุรการต่างๆ  พัฒนาอาคารสถานที่ การบริหารด้านวิชาการ และการให้บริการกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษา
2. จำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมการบริหาร
องค์ประกอบทางส่วนบุคคล
1. เจตคติ ค่านิยม ความเชื่อ อุปนิสัย การรับรู้

2. ความสามารถ
3. ลักษณะทางสังคมจิตวิทยา
องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม
1. ขนบธรรมเนียมประเพณีทางสังคม

2. ลักษณะของชุมชน
3. ธรรมชาติของรัฐ
Competency ของบริหารการศึกษาไทย สรุปได้ดังนี้
1. งานพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
2. งานบริหารบุคคล
3. งานนิเทศการศึกษา
4. งานบริหารงบประมาณและการเงิน
5. งานบริหารอาคารสถานที่และอุปกรณ์
6. งานธุรการและบริการส่งเสริมการศึกษา
7. งานกิจการนักเรียน
8. ความสัมพันธ์กับชุมชน
9. การประเมินผลงานของโรงเรียน
ทักษะที่ใช้เพื่อการบริหารงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมี ดังนี้
1. ไม่ต้องแก่งแย่งแข่งขัน
2. ไม่ต้องการเครื่องจักรระบบราชการให้มามีอำอาจเหนือคน
3. ไม่ต้องการเป็นคนปัญญาอ่อน หุ่นยนต์ ตุ๊กตาไขลาน
4. ไม่ต้องการเป็นเศษส่วนของความเป็นคน
5. ต้องการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
6. ต้องการเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย


บทที่ 4  กระบวนการทางการบริหารการศึกษ
การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่าง ๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมุ่งให้คนเหล่านี้ เป็นคนดีมีคุณภาพ ประกอบภารกิจในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาคนในทุกๆด้าน จะต้องอาศัยระเบียบแบบแผนและที่ไม่เป็นระเบียบแบบแผน ทั้งคนที่อยู่ในโรงเรียนและคนที่อยู่นอกโรงเรียน ในการบริหารการศึกษาโดยผู้บริหารจะต้องมีหลักการในการบริหารอยู่ 2 เรื่องคือ การจัดระบบสังคมและการถ่ายทอดวัฒนธรรม  เป้าหมายและจุดประสงค์ของการบริหารการศึกษา


บทที่ 5 องค์การและการจัดองค์การ

            
องค์การ หมายถึงโครงสร้างหรือกระบวนการที่กลุ่มจัดตั้งขึ้นมีการกำหนดกิจกรรม หรืองานออกเป็นประเภทต่างๆ และมอบหมายความรับผิดชอบในกิจกรรมนั้นๆ ให้แก่สมาชิกได้ดำเนินการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย มี 4 ระบบ คือ
1. ระบบโครงสร้างการบริหาร คือ เน้น โครงสร้างกระบวนการ
2. ระบบทางด้านเทคนิค คือ เน้น วิธีดำเน้นงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระบบสังคม คือ เน้น การทำงานของคนในองค์การ
4. ระบบกิจกรรมและการทำงาน คือ เน้น ทั้งการผสมและการให้บริการ

บทที่ 6  การติดต่อสื่อสาร

การติดต่อสื่อสารเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการบริหารที่สำคัญ ผู้บริการจะบริหารได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการบริหาร
การติดต่อสื่อสาร คือ การที่บุคคลทั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข่าวสารกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันระหว่างกันหรือเพื่อให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ความสำคัญของการสื่อสาร
            1.การสื่อสารมีความจำเป็นมากขึ้นเนื่องจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในองค์การ จะไม่สามารถจะใช้วิธีการสื่อสารปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป
            2.แม้ว่าองค์การจะใช้เครื่องมือแทนการทำงานของมนุษย์ แต่การสื่อสารจะต้องถูกนำมาใช้ในรูปการสื่อความหมาย
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
1.       สื่อที่ใช้ในการติดต่อ
2.       ช่องทางที่สื่อจะผ่าน คือ เครือข่าย
3.       กระบวนการ คือ ขั้นตอนที่เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
4.       เสียงรบกวนที่กีดขวางการติดต่อสื่อสาร
5.       ข้อมูลป้อนกลับในการติดต่อสื่อสาร
6.       สถานการณ์และปัจจัยขององค์การในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร มี 5 ประการ คือ
1.       ผู้ทำการติดต่อสื่อสาร
2.       ติดต่อสื่อสารด้วยการพูด การส่งหรือการออกกำสั่ง
3.       ด้วยข่าวสาร
4.       ผู้รับการติดต่อสื่อสาร
5.       การตอบรับ
รูปแบบการติดต่อสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.       การติดต่อสื่อสารแบบพิธีการ
2.       การติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นพิธีการ

บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจผู้อื่นให้ร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ คือ การอำนวยการ การจูงใจ การริเริ่ม การประนีประนอม การประสานงาน ควบคุมงาน ตรวจตรา กำหนดนโยบายวินิจจัยสั่งการ

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ
1.       ผู้นำ
2.       ผู้ตาม
3.       สถานการณ์ สภาพแวดล้อม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

บทที่ 8 การประสานงาน
การประสานงาน คือ การจัดระเบียบการทำงาน เพื่อให้งานและเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทำงานซับซ้อนกัน ขัดแย้งกัน และเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น
ความมุ่งหมายในการประสานงาน
1.       ช่วยให้คุณภาพและผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
2.       เพื่อขจัดความซับซ้อนกันของการทำงานโดยไม่จำเป็น อันจะนำมาซึ่งความสิ้นเปลือง กำลังคน กำลังเงิน
3.       เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง
            ภารกิจในการประสานงาน   
1.       นโยบาย
2.       ใจ
3.       แผน
4.       งานที่รับผิดชอบ
5.       คน
6.       ทรัพยากร
อุปสรรคในการประสานงาน
1.       การขาดมนุษยสัมพันธ์ในการประสานงาน
2.       การขาดแผนการปฏิบัติงาน
3.       ขาดความสามารถของผู้ปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน
4.       การสื่อสารที่ไม่ดี เกิดติดขัด


บทที่ 9 การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ


การตัดสินใจ คือ การบริหาร ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการกำหนดนโยบาย เป้าหมายในการบริหาร ขั้นการวางแผน ประสานงาน การดำเนินงานจนถึงขั้นลงมือปฏิบัติ ซึ่งทุกระดับจะต้องมีการตัดสินใจอยู่ตลอดเวลา
หลักการในการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.       ต้องรู้แจ้งในข้อเท็จจริงให้แน่ชัด
2.       ต้องสั่งงานให้ตรงประเด็น
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
1.       ข่าวสาร ที่จะนำมาสนับสนุนเพื่อเป็นมูลฐานของการวินิจฉัยสั่งการ
2.       การเสี่ยง  จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงว่าจะมีความเสี่ยงมาน้อยเพียงใด
3.       นโยบาย การวินิจฉัยสั่งการจะต้องคำนึงถึง นโยบายขององค์การว่า มีอยู่อย่างไร การวินิจฉัยสั่งการในเรื่องใดจะต้องให้สอดคล้อหรือเป็นไปตามนโยบาย
4.       ปัญหาต่าง ๆ
5.       เวลา
ประโยชน์ของการตัดสินใจ
1.       ทำงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ / เป้าหมายขององค์การ
2.       ก่อให้เกิดการแระสานงานที่ดี ลดความซ้ำซ้อน
3.       ช่วยประหยัดทรัพยากร
4.       ทำให้การประสานงานเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล



บทที่ 10 ภารกิจของผู้บิหารโรงเรียน
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียนมีดังนี้
1.การบริหารงานวิชาการ ถือเป็นหัวใจของสถานศึกษาซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล การควบคุมดูแลครู การจัดงบประมาณ การจัดการเอกสารต่างๆ เป็นต้น
2.การบริหารบุคคล คือ เป็นการจัดงานเกี่ยวกับคนให้ทำงานให้ได้ผลที่สูงสุดและให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแก่สถานศึกษา  
3.การบริการธุรการในโรงเรียน เป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนสถาบันการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด การทำงานได้ดีนั้นถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสามารถของผู้บริหารงาน
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน หลักในการจัดกิจกรรม โดยการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเข้ากิจกรรมอย่างเสมอภาคกัน และต้องอยู่ในความรับผิดชอบของสถานศึกษา ต้องปลูกฝังความคิด ให้ผู้เรียนอยู่เสมอ  
5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือ การรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยังคงรักษาสภาพเดิมเอาไว้